แจกสกินhi5

kengjass

คลังข้อมูล


 

ประวัติความเป็นมาของคณิตศาสตร์ โดย หม่อมราชวงศ์ พรรคพงศ์สนิท สนิทวงศ์

          คณิตศาสตร์มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจจะได้นำมากล่าวไว้พอเป็นสังเขป ดังนี้
สมัยบาบิโลนและอียิปต์
สมัยกรีกและโรมัน
สมัยกลาง
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
การเริ่มต้นของคณิตศาสตร์สมัยใหม่
สมัยปัจจุบัน

 
 
สมัยบาบิโลนและอียิปต์
           ในสมัย 5,000  ปีมาแล้ว ชาวบาบิโลน (อยู่ในประเทศอิรักทุกวันนี้) และชาวอียิปต์รู้จักเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวน รู้จักเลข เศษส่วน รู้จักใช้ลูกคิดบวก ลบ คูณ หารตัวเลข ความรู้เกี่ยวกับจำนวนได้นำมาใช้ในการติดต่อค้าขาย การเก็บภาษี การรู้จักทำปฏิทิน และการรู้จักใช้มาตรฐานเกี่ยวกับเวลา เช่น 1 ปีมี 365 วัน 1 วันมี 24 ชั่วโมง 1 ชั่วโมงมี 60 นาที  1 นาทีมี 60 วินาที ความรู้ทางเรขาคณิต เช่น การวัดระยะทาง การวัดมุม นำมาใช้ในการก่อสร้างและการรังวัดที่ดิน เขาสนใจคณิตศาสตร์ในด้านนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้เท่านั้น

สมัยกรีกและโรมัน
            ในสมัย 2,600 ปีถึง 2,300 ปีที่แล้ว ชาวกรีกได้รับความรู้ทางคณิตศาสตร์จากชาวอียิปต์และชาวบาบิโลน ชาวกรีกเป็นนักคิดชอบการใช้เหตุผล เขาเห็นว่าคณิตศาสตร์ไม่เป็นแต่เพียงเกร็ดความรู้ที่ใช้ให้เป็นประโยชน์ได้เท่านั้น เขาจึงได้วางกฎเกณฑ์ทำให้คณิตศาสตร์กลายเป็นวิชาที่มีเหตุผล มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง เป็นวิชาที่น่ารู้ไว้เพิ่มพูนสติปัญญา นักคณิตศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนี้  คือ
            เธลีส (Thales ประมาณ 640-546 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักปรัชญา นักคณิตศาสตร์  นักดาราศาสตร์ชาวกรีก  เป็นคนแรกที่คำนวณหาความสูงของพีระมิดในอียิปต์โดยใช้เงา เขาได้ทำนายว่าจะเกิดสุริยคราสล่วงหน้าซึ่งได้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 42 ปี รู้จักพิสูจน์ทฤษฎีบททางเรขาคณิต เช่น เส้นผ่านศูนย์กลางจะแบ่งครึ่งวงกลม  มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วเท่ากัน และมุมในครึ่งวงกลมเป็นมุมฉาก เป็นต้น
             ปีทาโกรัส (Pythagoras ประมาณ 580-496 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกเป็นผู้ริเริ่มตั้งโรงเรียนสอนวิชาคณิตศาสตร์และปรัชญา ปีทาโกรัสและศิษย์สนใจเรื่องราวของจำนวนมาก เขาคิดว่าวิชาการต่างๆ และการงานแทบทุกชนิดของมนุษย์จะต้องมีจำนวนเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมอ การเรียนรู้เรื่องของจำนวนก็คือการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ของธรรมชาตินั่นเอง
สมัยกลาง ยูคลิด (Euclid ประมาณ 450-380 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ได้รวบรวมเรขาคณิตขึ้นเป็นตำราที่มีชื่อเสียงมาก เป็นการวางพื้นฐานการเรียนเรขาคณิตโดยกล่าวถึงจุด เส้นและรูป เช่น รูปสามเหลี่ยมและวงกลม    จากข้อความที่ยูคลิดถือว่าเป็นจริงแล้วประมาณ 10 ข้อความ เช่น "มีเส้นตรงเพียงเส้นเดียวเท่านั้นที่ลากผ่านจุดสองจุดได้" เป็นต้น อาศัยการใช้เหตุผล ยูคลิดพบทฤษฎีบท (ข้อความที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นจริง) ถึง 465 ทฤษฎีบท ตำราของยูคลิดกล่าวถึงทฤษฎีบท และการพิสูจน์ทฤษฎีบทเหล่านี้ โดยเริ่มจากทฤษฎีบทที่ง่ายที่สุด และค่อยๆ ยากขึ้นเป็นลำดับ นอกจากนี้ยูคลิดยังได้ศึกษาเกี่ยวกับจำนวนอีกด้วย
                 อาร์คีมีดีส (Archimedes ประมาณ 287-212  ปี ก่อนคริสต์ศักราช) นักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ชาวกรีก สนใจการหาพื้นที่วงกลม ปริมาตรของทรงกระบอกและกรวย นักคณิตศาสตร์สมัยนี้รู้จักคำนวณอตรรกยะ เช่น และ  (พาย) และสามารถคำนวณค่าโดยประมาณได้โดยใช้เศษส่วน อาร์คีมีดีสพบว่า มีค่าประมาณ วิธีการหาค่า (นำไปสู่การค้นพบวิชาแคลคูลัส นอกจากนี้อาร์คีมีดีส เคยประดิษฐ์ระหัดทดน้ำ พบกฎการลอยตัวและกฎเกณฑ์ของคานงัด และได้นำไปใช้ในการสร้างเครื่องผ่อนแรงสำหรับยกของหนัก
           ส่วนชาวโรมัน สนใจคณิตศาสตร์ในด้านนำไปใช้ในการก่อสร้าง ธุรกิจและการทหาร  ตัวเลขแบบโรมันเป็นดังนี้
           เลขโรมัน             I   II   III   IV   V   VI   VII   VIII   IX    X    C
           เลขฮินดูอารบิค     1   2    3    4    5   6     7      8      9   10   100
 (ประมาณ พ.ศ. 1072-1979) อาณาจักรโรมันเสื่อมสลายลงในปี พ.ศ. 1019 ชาวอาหรับรับการถ่ายทอดความรู้ทางคณิตศาสตร์จากกรีก ได้รับความรู้เรื่องจำนวนศูนย์ และวิธีเขียนตัวเลขแบบใหม่จากอินเดีย ตัวเลข 1 2 3 4 5 6 7 8 9 0  ที่เราใช้กันทุกวันนี้ จึงมีชื่อว่า ฮินดูอารบิค ชาวอาหรับแปลตำราภาษากรีกออกเป็นภาษาอาหรับไว้มากมาย ทั้งทางดาราศาสตร์  คณิตศาสตร์และแพทยศาสตร์
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
           (ประมาณ พ.ศ. 1980-2143) สงครามครูเสดระหว่างชาวยุโรปกับชาวอาหรับ ซึ่งกินเวลาร่วม 300 ปี สิ้นสุดลง  ชาวยุโรปเริ่มฟื้นฟูทางการศึกษา และมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยกันขึ้น ชาวยุโรปได้ศึกษาวิชาคณิตศาสตร์จากตำราของชาวอาหรับ ในปี พ.ศ. 1983 คนรู้จักวิธีพิมพ์หนังสือ ไม่ต้องคัดลอกดังเช่นแต่ก่อน ตำราคณิตศาสตร์จึงแพร่หลายทั่วไป ชาวยุโรปแล่นเรือมาค้าขายกับอาหรับ อินเดีย ชวา และไทย ในปี  พ.ศ. 2035 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus ประมาณ  ค.ศ. 1451-1506) นักเดินเรือชาวอิตาเลียนแล่นเรือไปพบทวีปอเมริกาใน พ.ศ. 2054 ชาวโปรตุเกสเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา การค้าขายเจริญรุ่งเรือง ชาวโลกสนใจคณิตศาสตร์มากขึ้นเพราะใช้เป็นประโยชน์ได้มากในการค้าขายและเดินเรือ เราพบตำราคณิตศาสตร์ภาษาเยอรมัน พิมพ์ใน พ.ศ. 2032 มีการใช้เครื่องหมาย +  และ -  ตำราคณิตศาสตร์ที่แพร่หลายมากคือตำราเกี่ยวกับเลขาคณิต อธิบายวิธีบวก ลบ  คูณ  หารจำนวนโดยไม่ต้องใช้ลูกคิด การหารยาวก็เริ่มต้นมาจากสมัยนี้ และยังคงใช้กันอยู่ตราบเท่าปัจจุบัน  นักดาราศาสตร์ใช้คณิตศาสตร์ในงานค้นคว้าเกี่ยวกับดวงดาวบนท้องฟ้า นิโคลัส คอเปอร์นิคัส (Nicolus Copernicus  ค.ศ. 1473-1543) นักดาราศาสตร์ผู้อ้างว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เกิดในสมัยนี้
การเริ่มต้นของคณิตศาสตร์สมัยใหม่
           (ประมาณ ค.ศ. 2144-2343) เริ่มต้นประมาณแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยาจนถึงแผ่นดิน
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
           ในรอบสองร้อยปี ต่อมาความเจริญทางด้านดาราศาสตร์  การเดินเรือ การค้า การก่อสร้าง ทำให้จำเป็นต้องคิดเลขให้ได้เร็วและถูกต้อง ในปี พ.ศ. 2157 เนเปอร์ จอห์น เนเปียร์   (Neper John Napier ค.ศ. 1550-1617) นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตได้ตีพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับลอการิทึม ซึ่งเป็นวิธีคูณ   หาร  และการยกกำลังจำนวนมากๆ ให้ได้ผลลัพธ์ถูกต้องและรวดเร็ว ในที่สุดก็มีการประดิษฐ์บรรทัดคำนวณขึ้นโดยใช้หลักเกณฑ์ของลอการิทึม
          นอกจากนี้ยังมีนักคณิตศาสตร์ที่สำคัญอีกคือ เรอเน เดส์การ์ตส์ (Rene Descartes  ค.ศ. 1596-1650) พบวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์ แบลส ปาสกาล (Blaise Pascal ค.ศ. 1623-1662) และปิแยร์ เดอ แฟร์มาต์ (Pierre de Fermat
ค.ศ. 1601-1665) พบวิชาความน่าจะเป็น ทั้งสามท่านนี้เป็นชาวฝรั่งเศส ปาสกาลได้รับการยกย่องว่าเป็นคนแรกที่ประดิษฐ์เครื่องคิดเลข เซอร์ ไอแซกนิวตัน (Sir Isaac Newton  ค.ศ. 1642-1727) นักคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ และกอตต์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิตส์ (Gottfried  Wilhelm Leibnitz ค.ศ. 1646-1716  นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน) พบวิชาแคลคูลัส ซึ่งเป็นวิชาที่นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง การค้นพบวิชาแคลคูลัสในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และการค้นพบกฎทางวิทยาศาสตร์ของนิวตัน เช่น กฎของการเคลื่อนที่ ทฤษฎีของการโน้มถ่วงของโลก เป็นต้น นับเป็นความก้าวหน้าของวิทยาการสมัยใหม่ ผลงานของนักคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในสมัย 100 ปี ต่อมามุ่งไปในแนวใช้แคลคูลัสให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาคณิตศาสตร์ และวิชาฟิสิกส์แขนงต่างๆ
           นักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนี้มี เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ (Leonhard Euler  ค.ศ. 1707-1783) ชาวสวิสผู้ให้กำเนิดทฤษฎีว่าด้วยกราฟ นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสมี โชแซฟ ลุยส์ ลากรองจ์ (Joseph Louis Lagrange  ค.ศ.  1736-1813) ปิแยร์ ซิมง เดอ ลาปลาซ (Pierre Simon de Laplace  ค.ศ. 1749-1827) ใช้แคลคูลัสสร้างทฤษฎีของกลศาสตร์ และกลศาสตร์ฟากฟ้าซึ่งเป็นพื้นฐานของวิศวกรรมศาสตร์ และดาราศาสตร์
 
 
 
 
สมัยปัจจุบัน
 (ประมาณ พ.ศ. 2344-ปัจจุบัน) เริ่มประมาณแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นักคณิตศาสตร์ในสมัยนี้สนใจในเรื่องรากฐานของวิชาคณิตศาสตร์  และตรรกศาสตร์ (วิชาว่าด้วยการใช้เหตุผล) นำผลงานของนักคณิตศาสตร์รุ่นก่อนมาวิเคราะห์ใคร่ครวญ สิ่งใดที่นักคณิตศาสตร์รุ่นก่อนเคยกล่าวว่าเป็นจริงแล้ว นักคณิตศาสตร์รุ่นนี้ก็นำมาคิดหาทางพิสูจน์ให้เห็นจริง ทำให้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เดิมมีพื้นฐานมั่นคง มีหลักมีเกณฑ์ที่จะอธิบายให้เข้าใจได้ว่า การคิดคำนวณต่างๆ ต้องทำเช่นนั้นเช่นนี้เพราะเหตุใด ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างคณิตศาสตร์แขนงใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นเพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน จะขอกล่าวถึงนักคณิตศาสตร์ และแขนงใหม่ของคณิตศาสตร์ในสมัยนี้พอสังเขป
            คาร์ล ฟรีดริค เกาส์
 (Carl Friedrich Gauss ค.ศ. 1777-1855) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน มีผลงานดีเด่นทางคณิตศาสตร์มากมายหลายด้าน ได้แก่ พีชคณิต การวิเคราะห์ทฤษฎีจำนวน การวิเคราะห์เชิงตัวเลข ความน่าจะเป็นและสถิติศาสตร์ รวมทั้งดาราศาสตร์และฟิสิกส์
           นิโคไล อิวาโนวิช โลบาเชฟสกี (Nikolai Iwanowich Lobacheviski ค.ศ. 1792-1856) นักคณิตศาสตร์ชาวรุสเซีย และ จาโนส โบลไย (Janos Bolyai ค.ศ. 1802-1860) นักคณิตศาสตร์ชาวฮังการี ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ให้กำเนิดวิชาเรขาคณิตนอกระบบยูคลิดในส่วนเรขาคณิตแบบไฮเพอร์โบลิก
           นีลส์ เฮนริก อาเบล (Niels Henrik Abel ค.ศ. 1802-1829) นักคณิตศาสตร์ชาวนอร์เวย์ มีผลงานในด้านพีชคณิตและการวิเคราะห์ เมื่ออายุประมาณ 19 ปี เขาพิสูจน์ได้ว่าสมการกำลังห้าที่มีตัวแปรตัวเดียวใน
รูปทั่วไป (ax5 + bx4 + cx3 + dx2 + ex + f = 0) จะไม่สามารถหาคำตอบโดยวิธีพีชคณิตได้เสมอไปเหมือนสมการที่มีกำลังต่ำกว่าห้า นอกจากนี้ยังมีผลงานอื่นๆ ในด้านทฤษฎีของอนุกรม อนันต์ ฟังก์ชันอดิศัย กลุ่มจตุรงค์ และฟังก์ชันเชิงวงรี
           เซอร์ วิลเลียม โรแวน แฮมิลทัน (Sir William Rowan Hamilton ค.ศ. 1805-1865) นักคณิตศาสตร์ชาวไอริส มีผลงานในด้านพีชคณิต ดาราศาสตร์ และฟิสิกส์ ในปี ค.ศ. 1843 เขาได้สร้างจำนวนชนิดใหม่ขึ้นเรียกว่า ควอเทอร์เนียน เป็นจำนวนที่เขียนได้ในรูป a + bi + cj + dk โดยที่ a, b, c และ d เป็นจำนวนจริง i2 = j2 = k2 = ijk  = -1ควอเทอร์เนียน มีคุณสมบัติต่างไปจากจำนวนธรรมดาสามัญ กล่าวคือไม่มีสมบัติการสลับที่ เมื่อพูดถึงจำนวน เรามักจะคิดว่า  จำนวนตัวหน้าคูณจำนวนตัวหลัง จะได้ผลลัพธ์เท่ากับจำนวนตัวหลังคูณจำนวนตัวหน้า เขียนได้ในรูป ab = ba แต่ควอเทอร์เนียนไม่เป็นเช่นนั้น ij = k แต่ ji = -k แสดงว่า ij ji แฮมิลทันได้รับเกียรติว่าเป็นผู้ให้กำเนิดวิชาเมตริกร่วมกับ เจมส์ โจเซฟ ซิลเวสเทอร์ (James Joseph Sylvester  ค.ศ. 1814-1897) และอาร์เทอร์ เคเลย์ (Arthur Cayley  ค.ศ. 1821-1895) ทั้งสองท่านนี้เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ
            แบร์นฮาร์ด รีมันน์ (Bernhard Riemann ค.ศ. 1826-1866) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน มีผลงานในด้านเรขา คณิต ทฤษฎีของฟังก์ชันวิเคราะห์ที่มีตัวแปรเป็นจำนวนเชิงซ้อน ทฤษฎีจำนวน ทฤษฎีศักย์ โทโปโลยี และวิชาฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ เป็นผู้ให้กำเนิดวิชาเรขาคณิตแบบรีมันน์ ซึ่งเป็นรากฐานของทฤษฎีสัมพันธภาพสมัยปัจจุบัน

           คาร์ล ไวแยร์สตราสส์ (Karl Weierstrass ค.ศ. 1815-1897) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน มีผลงานในด้านการวิเคราะห์ เป็นผู้นิยามฟังก์ชันวิเคราะห์ที่มีตัวแปรเป็นจำนวนเชิงซ้อนโดยใช้อนุกรมกำลัง สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับฟังก์ชันเชิงวงรี  และแคลลูลัสของการแปรผัน
                จอร์จ บลู (George Boole ค.ศ. 1815-1864) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษมีผลงานในด้านตรรกศาสตร์ พีชคณิต การวิเคราะห์ แคลลูลัสของการแปรผัน ทฤษฎีความน่าจะเป็น เป็นผู้ให้กำเนิดวิชาพีชคณิตแบบบูล
           เกออร์จ คันเตอร์ (Georg Cantor  ค.ศ. 1845-1917) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันเป็นผู้ริเริ่มนำเซตมาใช้ในการอธิบายเรื่องราวทางคณิตศาสตร์ และได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี เป็นผู้ให้กำเนิดวิชาทฤษฎีเซต ความรู้เกี่ยวกับเซตทำให้เรา
ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับจำนวนจริงและจำนวนอนันต์เพิ่มขึ้น ต่อมานักคณิตศาสตร์อีกหลายท่านได้ช่วยกันปรับปรุงเรื่องเซตให้สมบูรณ์จนเป็นที่ยอมรับและนำไปใช้อย่างกว้างขวางในวิชาคณิตศาสตร์
           โยเชียห์ วิลลาร์ด กิบส์ (Josiah Willard Gibbs) นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันมีผลงานในด้านวิชาฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ และวิชากลศาสตร์เชิงสถิติ เป็นผู้ให้กำเนิดวิชาเวกเตอร์วิเคราะห์
            อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein ค.ศ. ๑๘๗๙-๑๙๕๕) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ใช้คณิตศาสตร์สร้างทฤษฎีสัมพันธภาพ เป็นเหตุให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเอกภพและสสารซึ่งเชื่อกันมาแต่เดิมเปลี่ยนแปลงไป ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบัน เช่น แขนงอิเล็กทรอนิกส์  ฟิสิกส์นิวเคลียร์และอวกาศ  ต้องใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ประยุกต์แบบใหม่
           จอห์น ฟอน นอยมันน์  (John Von Neumann ค.ศ. ๑๙๐๓-๑๙๕๗) นักคณิตศาสตร์ชาวฮังการี มีผลงานทั้งในด้านคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ คณิตศาสตร์ประยุกต์และเศรษฐศาสตร์ เช่น ทฤษฎีควอนตัม ทฤษฎีคอมพิวเตอร์และ
บรรณานุกรม การออกแบบคอมพิวเตอร์ กำหนดการเชิงเส้น กลุ่มจตุรงค์ต่อเนื่อง ตรรกศาสตร์ ความน่าจะเป็น เป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีการเสี่ยง
           คณิตศาสตร์แขนงใหม่ที่เกิดขึ้นในสมัยปัจจุบันได้แก่ทฤษฎีเซต กำเนิดเมื่อ พ.ศ. 2435 โทโพโลยี กำเนิดเมื่อ
พ.ศ. 2438 ทฤษฎีการเสี่ยง กำเนิดเมื่อ พ.ศ. 2474 และกำหนดการเชิงเส้น กำเนิดเมื่อ พ.ศ. 2490
          คณิตศาสตร์เริ่มจากเป็นเกร็ดความรู้ที่มนุษย์นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตในสมัยสี่พันปีก่อนค่อยๆ มีกฎเกณฑ์ทวีเพิ่มพูนขึ้นตลอดมา คณิตศาสตร์เปรียบเหมือนต้นไม้ นับวันจะผลิดอกออกผลนำประโยชน์มาให้มนุษยชาติ มนุษย์ทุกยุคทุกสมัยสนใจวิชาคณิตศาสตร์ การให้ความรู้ทางคณิตศาสตร์แก่เยาวชนของชาติ  จึงมีความสำคัญอย่างมาก

หม่อมราชวงศ์ พรรคพงศ์สนิท สนิทวงศ์
http://guru.sanook.com/encyclopedia/ประวัติความเป็นมาของคณิตศาสตร์/
 
 

 

 

ใบงานที่1 นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

 

 


               1.ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร -ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน อ้างอิง http://www.geocities.com/jatuponlimtakul/jitavitaya.htm สรุปทฤษฎีการเรียนรู้ ข้อความรู้ที่บรรยาย อธิบาย พรรณนา ทำนาย ปรากฏการต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และยอมรับ ว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้
             2.มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร ทฤษฎีการเรียนรู้แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ดังนี้ -กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) คือ มนุษย์ไม่ดี ไม่เลว การกระทำของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงของสิ่งเร้า กับการตอบสนอง ให้ความสนใจพฤติกรรม เพราะ เห็นได้ชัด วัดได้ ทดสอบได้ -กลุ่มพุทธินิยม(Cognitivism) คือเน้นกระบวนการทางปัญญา กระบวนการ ความคิด เป็นกระบวนการภายในสมอง เชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิด สะสมข้อมูล สร้างความหมาย ความสัมพันธ์ของข้อมูล ดึงข้อมูลมาใช้ในการแก้ปัญหา -กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism) คือ ให้ความสำคัญของมนุษย์ มองมนุษย์มีค่า มีความดีความงาม ต้องการพัฒนา ศักยภาพ หากได้รับอิสรภาพ เสรีภาพ จะพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ -กลุ่มผสมผสาน(Eclecticsm) คือ Cagne นำ Behaviorism และ Cognitivism มาผสมผสานมีหลักการจัดการเรียนรู้ 9 ขั้น สสร้างความสนใจ แจ้งจุดประสงค์ กระตุ้นความรู้เดิม เสนอบทเรียนใหม่ ให้แนวทางการเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ แจ้งข้อมูลย้อนกลับ ประเมินพฤติกรรมตามจุดประสงค์ ส่งเสริมความแม่นยำ ทฤษฏี หลักการ และแนวคิด -ทฤษฎีของฮัลล์ ( Hull) 1กฎแห่งสมรรถภาพในการตอบสนอง 2กฎแห่งการลำดับกลุ่ม 3กฎแห่งการใกล้จะบรรลุเป้าหมาย -ทฤษฎี ของเกสตัลท์ ( Gestalt) 1กฎแห่งความใกล้ชิด 2กฎแห่งความคล้าย 3กฎแห่งความสมบูรณ์ 4กฎแห่งความต่อเนื่องที่ดี -ทฤษฎีของทอลแมน ( Tolman ) 1ในการเรียนรู้ต่าง ๆ ผู้เรียนมีการคาดหมายรางวัล 2ผู้เรียนจะบรรลุเป้าหมายจะต้องเกิดการเรียนรู้กฎหมาย 3ผู้เรียนมีความสามารถที่จะปรับการเรียนรู้ของตนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จะไม่ทำซ้ำ ๆ ตามวัตถุประสงค์ของตนเอง 4การเรียนรู้บางอย่างอาจยังไม่สามารถแสดงออกได้ในทันที -ทฤษฎีของรอเจอร์ ( Roger ) 1จัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนรู้ 2เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3การเรียนจะเน้นกระบวนการ -การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ เมเยอร์ 1พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตในสื่อการเรียนได้ 2เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไข เพื่อเป็นการช่วยเหลือในการเข้าใจได้ง่ายขึ้น 3มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด -พหุปัญญา หรือ เชาว์ปัญญา 8 ด้าน 1.ปัญญาด้านภาษา คือ การสื่อความหมายด้านภาษาให้ผู้ฟังได้ดีและเข้าใจ 2.ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น นักบัญชี นักสถิติ 3.มิติสัมพันธ์ คือ เป็นการรับรู้ทางสายตาได้ดี เช่น จิตรกร วาดรูป 4.ด้านร่างกายและเคลื่อนไหว คือ เน้นการสื่อในการคิด และความคล่องแคล่วอย่างว่องไว 5.ด้านดนตรี คือ ด้านการรับรู้ 6.ด้านมนุษย์สัมพันธ์ เช่น ครูอาจารย์ เชล 7.ด้านการเข้าใจตนเอง คือ รู้จักตระหนักในตนเอง ควบคุมตนเองตามการแสดง เช่น นักวิจัย นักปราชญา 8.ด้านธรรมชาติวิทยา เช่น นักธรณีวิทยา นักวิจัย -ทฤษฎีการผสมผสานของกานเย โดยมีหลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้ คือ การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9 ขั้นดังนี้ ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ ผู้สอนจะต้องมีความเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อสร้างความสนในให้กับผู้เรียน ขั้นที่ 2 แจ้งจุดประสงค์ให้กับผู้เรียน เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนสร้างความสนใจในสิ่งที่เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ขั้นที่ 3 การกระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น ขั้นที่ 4 เสนอแบบเรียนใหม่ คือ ในเรื่องที่ผู้สอนจะเรียนนั้น ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้ คือ ให้ผู้เรียนออกไปเรียนรู้ในห้องสมุดหรือนอกห้องเรียน ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฏิบัติ คือ ให้ผู้เรียนได้ทำแบบฝึกหัด ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ คือ ผู้สอนจะต้องเฉลยแบบฝึกหัดเพื่อช่วยแก้ไขข้อที่ทำไม่ได้ ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ คือผู้สอนจะต้องมีการทดสอบผู้เรียนในเรื่องที่สอนเพื่อให้นักเรียน ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำ และการถ่ายโอนการเรียนรู้ อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/ทฤษ% สรุปการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎี คือ การนำเอาแต่ละทฤษฏีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนรู้ การเรียนรู้ การเกิดประสบการณ์เมื่อมนุษย์ ได้รับกระทบสัมผัสจากสิ่งเร้าต่างๆ ผ่านทางอวัยวะรับสัมผัส และตัวรับสัมผัส เช่นน้ำมะนาว หยดลงบนลิ้น จะเกิดการเรียนรู้ และตีความหมายแห่งการสัมผัสนั้นๆ 
              3.นวัตกรรม คือ “นว” หมายถึง ใหม่ “กรรม” หมายถึง ความคิดและการกระทำ นวกรรม จึงหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ๆ ทางการศึกษา บางสิ่งบางอย่างทางการศึกษา ยังอาจอยู่ในรูปของความคิด-ความที่จะทำอะไรให้มันดีขึ้น แต่ยังไม่ได้เอาไปใช้ เช่น คิดจะให้นักเรียน เรียนบางอย่างด้วยตนเองจากบทเรียน โปรแกรม (ประดิษฐ์ ฮวบเจริญ : 145: เทคโนโลยีทางการศึกษา) นวกรรม(innovation) จึงจำแนกตามรากศัพท์มาจากคำว่า นว+กรรม นว หมายถึง ใหม่ กรรม หมายถึง วิธีการ หลักปฏิบัติ หรือแนวความคิด ดังนั้น นวกรร หมายถึง วิธีการหลักการปฏิบัติ หรือแนวคิดใหม่ๆ -มอร์ต้น(J.A Morton) กล่าวว่านวกรรม หมายถึง การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หมายถึงการปรับปรุงของเก่า และพัฒนาศักยภาพของบุคคลกรตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้นๆ -นวัตกรรม หมายถึง เป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ ใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาการดัดแปลง จากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น -นวัตกรรม (innovation) ทอมัส ฮิวซ์ (Thomas Hughes) กล่าวว่า นวัตกรรมการนำเอาวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติ หลักจากการได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนาเป็นขั้นๆ(รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง:245:เทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรม) -ไมลส์ แมทธิว (Miles Matthew) กล่าวว่า นวัตกรรมหมายถึง การเปลี่ยนแปลง แนวความคิด อย่างถี่ถ้วน เป็นการเปลี่ยวแปลงให้ใหม่ขึ้น เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพสุงขึ้น อ้างอิง http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7fb179ae33990cba&clk=wttpct http://jange1979.multiply.com/journal/item/4/4 สรุปนวัตกรรม คือการปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ ใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาการดัดแปลง จากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ในบางครั้งเราไม่สามารถนำนวัตกรรมไปใช้ได้ทุกหนแห่งเสมอไปทั้งนี้เพราะในสถานที่แต่ละแห่งย่อมมีความแตกต่างกันในเรื่องของทรัพยากร 
               4.นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร นัวตกรรมทางการศึกษา(Educational Innovation) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างราดเร็วมีประสิทธิภาพสูง กว่าเดิมเกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วย นวัตกรรมเหล่านั้น ได้ประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ อ้างอิง รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง:246: เทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรม นวกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิด หรือการกระทำสิ่งใหม่ๆดังนั้น นวกรรมทางการศึกษาก็คือ ความคิดหรือสิ่งใหม่ๆ ทางการศึกษาข้อความที่ว่า ความคิด หรือสิ่งใหม่ๆนั้นมีความหมายกวางขวางมากเพียงใด เราน่าจะมาทำความเข้าใจกับข้อนี้เสียก่อน เปรื่อง กุมุท ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อความ ที่กล่าวนี้พอสรุปได้ว่าความคิด หรือสิ่งใหม่ๆ นั้นอาจเป็นหลายสถานะ ดังนี้ 1.ความคิด หรือสิ่งใหม่ๆ บางอย่างและมองเห็นว่าการใช้สิ่งเหล้านั้น หรือวิธีการนั้นสามารถแก้ไขปัญหาทางการศึกษา 2.ความคิด หรือการกระทำสิ่งใหม่ โดยอาจเก่ามาจากที่อื่น 3.ความคิดหรือ การกระทำสิ่งใหม่ ทั้งๆที่ครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้แล้ว แต่ไม่บังเกิดผล อาจเนื่องมาจากสิ่งแวดล้อมไม่อำนวย อ้างอิง วาสนา ชาวหา: 17: เทคโนโลยีทางการศึกษา รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง:246: เทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรม -สรุปนวัตกรรมทางการศึกษา คือนวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนอีกด้วย
             5.เทคโนโลยี หมายถึง อะไร -เทคโนโลยี(Technolgy) เป็นคำที่มาจากภาษากรีกว่า Teckne หมายถึง ศิลปะ วิทยาศาสตร์ หรือทักษะ (ar,science,orskil) และจากภาษาลาติน ว่า Texere หมายถึงการสาน หรือการสร้าง (to weave or to construct )พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้ เทคโนโลยีหมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางการปฏิบัติ และอุตสากรรมปกติแล้วเมือกล่าวคำว่า เทคโนโลยี คนทั้วไปมักนึงถึงสิ่งที่เกี่ยงกับเทคนิควิธีสมัยใหม่ -เทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างเป็นระบบ ของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ต่างๆ ที่รวบรวมได้ มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่ผลในการปฏิบัติ -เทคโนโลยี หมายถึง กระบวนการ แนวทาง หรือวิธีการในการคิด ในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (James D Finn) -เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในสาขาวิชา ต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ (carter V. Good, Dictionary of Education ) -เทคโนโลยีคือ การศึกษาว่าทำอย่างไร จึงสามารถนำเอาความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ มาปฏิบัติในสถานการณ์ ที่เป็นจริงได้ (The Holt Banc Dictionary of American English ) -เทคโนโลยี คือ ความรู้และการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ โดยปกติใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรมแต่ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ กิจการใดๆ ก็ได้ (Mcgraw-Hill Encyclopedia of science and Technoiogy) -เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์อย่างมีระบบของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆ อันใดจัดระเบียบดีแล้ว ต่องานปฏิบัติทั้งหลาย (John Kenneth Galbralth) ได้เสนอไว้ 3ประการ 1.เป็นการให้ความรู้ที่มีเหตุผล เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายทางปฏิบัติ 2.เป็นระเบียบ วิธี กระบวนการ ความคิดเห็น หรือ ปรับปรุงวิธีการเดิม 3.เป็นการนำเอาวัสดุ หรือ จุดมุ่งหมาย มาบริการความต้องการของสังคม -บราวน์ (Brown ) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์ -เดล (Dale) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีเป็นแผนการ หรือวิธีการทำงานอย่างมีระบบ เพื่อให้บรรลุผล -Webster”s New Collegiate Dictionary ของเมอร์เรี่ยม (Merriam) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยี เป็น วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิธีการเทคนิค ที่มุ่งให้เกิดผล สำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ -เทคโนโลยี หมายถึง การดัดแปลงเอาผลิตผลขบวนการวิธี หรือระบบที่ใช้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในงาน สร้างพฤติกรรมที่ดี หรือเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดี จนเป็นที่ยอมรับของสังคมให้เกิดขึ้นแก่คน อ้างอิง (ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต :57 :เทคโนโลยีกับการศึกษา) อ้างอิง http://www.bcoms.net/temp/lesson1.asp http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson 22.htm สรุปเทคโนโลยี คือ การนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แนวความคิด กระบวนการ วิธีการ เทคนิค ตลอดจนอุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆ มาใช้ เพื่อใช้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบงานที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูง 
                6.เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (IT ย่อจาก information technology) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย) ในบางครั้งจะมีการใช้ชื่อว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT) - เทคโนโลยีสารสนเทศ คือเทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด โดยปัจจุบัน มีผู้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆ ว่า ไอที (IT) รัฐบาลไทยเองก็เล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้ขึ้น ชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเรียกย่อๆ ว่า กระทรวงไอซีที - เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีลักษณะเด่น คือ มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกวัน เช่น เราจะเห็นว่ามีการใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย มีการส่งอีเมล์ มีการท่องเว็บต่างๆ มีการส่งข้อมูลผ่านเว็บ มีการเล่นเกมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต นอกจากอินเตอร์เน็ตแล้ว ยังมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับมือถือ เช่น มีการส่งข้อมูลผ่านทางมือถือ มีการดาวโหลดข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเพลงผ่านมือถือ มีการสืบค้นข้อมูลหรือเล่นเกมผ่านมือถือ เป็นต้น ในทางอุตสาหกรรมก็มีการนำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยเพิ่มผลผลิตในโรงงาน ช่วยควบคุมดูแลเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้มีการนำสารสนเทศไปใช้ในงานด้านธุรกิจเพื่อทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยสามารถดูข้อมูลต่างๆ ได้ทันทีทั้งข้อมูลที่เป็นรายละเอียดและข้อมูลสรุป และช่วยในการสนับสนุนการตัดสิน บริษัทที่ทันสมัยทุกบริษัทต้องมีระบบสารสนเทศภายในองค์กร ในยุคต่อไป คอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลง มีความเร็วสูงขึ้น และมีหน่วยความจำมากขึ้น และที่สำคัญ ราคาของคอมพิวเตอร์จะถูกลงมาก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในสังคมของเรามากขึ้น โดยเราจะเรียกสังคมนี้ว่าสังคมยูบิคิวตัส (Ubiquitous) คือคอมพิวเตอร์อยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัทก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง จะเห็นได้ว่าบริษัทหรือองค์กรใหญ่จำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านการจัดการระบบสารสนเทศ ปัจจุบันในโลกของธุรกิจ มีธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ซึ่ง นักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดก็คือ นักธุรกิจด้านไอที ซึ่งความจริงนี้แสดงให้เห็นว่า ไอทีได้เป็นศาสตร์ที่รับความสนใจและมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบันและต่อไปในอนาคต อ้างอิง http://www.bcoms.net/temp/lesson1.asp http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson 22.htm สรุปเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยพัฒนา ทางด้าน ไอที และ การสื่อสารข้อมูลแบบมัลติมีเดีย 
               7.เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย 1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ 2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้ 3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสารเทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อ้างอิง http://www.beartai.com/webboard/index.php?topic=8080.0 http://school.obec.go.th/uts_s/webpages/computer/info_edu.htm สรุปบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา คือ เป็นเครื่องมือและตัวกลางให้ได้รับรู้เรื่องราวได้เร็ว ช่วยพัฒนาการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยทั้งทางด้านบริหารจัดการ การเรียนการสอน การวิจัย และการบริหารสังคม
                 8.สื่อการสอน -สื่อ หมายถึง ตัวกลางหรือพาหะที่ให้นำเรื่องราว หรือความรู้ ของผู้ส่งสารหรือครูไปสูงผู้รับ หรือนักเรียน -สื่อการสอน (Instructionai media ) อาจหมายถึงสิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือ จุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี (ประดิษฐ์ ฮวบเจริญ :145 : เทคโนโลยีทางการศึกษา) -สื่อ(medium,pl.media )เป็นคำที่มาจากภาษาลาตินว่า medium แปลงว่า ระหว่าง between หมายถึงสิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่ง และผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตามวัตถุจุดประสงค์ เมื่อมีการนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน จึงเรียกว่า สื่อการสอน จึงหมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ ฯลฯ ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิด การเรียนรู้ ตามวัตถุประสงค์ หรือ จุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ เป็นอย่างดี -สื่อการสอน ถือว่าเป็นขบวนการถ่ายทอดความคิด เรื่องราว ข่าวสาร ตลอดจนประสบการณ์ และทัศนคติ ระหว่างบุคคล หรือ กลุ่มบุคคล ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ส่งข่าวสาร เรื่องราวที่ส่งและผู้รับสาร โดยผู้ส่งและผู้รับ อาจมีจำนวนมากน้อย ก็ได้ (ดร.เฉลิมรัฐ ขัมพานนท์:57: เทคโนโลยีทางการศึกษา) -สื่อการสอน หมายถึง เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สื่อความหมาย จัดโดยครูและ นักเรียน เพื่อเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน อาทิ หนังสือ โสตทัศน์วัสดุ เช่น ฟิลัมสตริป สไลด์ แผนที่ ฯลฯ ของจริง และทรัพยากรจากชุมชน เป็นต้น (Louis Shores ,1960 ) -บราวน์ และคณะ ( Brown and others, 1983 ) ได้กล่าวว่าสื่อการสอนได้แก่อุปกรณ์ทั้งหลาย ที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียน จนทำให้เกิดผลการเรียนที่ดี ซึ่งรวบไปถึงกิจกรรมต่างๆได้เฉพาะ แต่สิ่งที่เป็นวัสดุ หรือ เครื่องมือเท่านั้น เช่น การไปศึกษานอกสถานที่ การสำรวจ - สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้ ประโยชน์ของสื่อการสอน 1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน 2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง 3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน 4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น 5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน 6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้ • ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น • ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น • ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง • ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง • ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น • นำอดีตมาศึกษาได้ • นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้ อ้างอิง http://www.yupparaj.ac.th/CAI/index0.html http://blog.spu.ac.th/ssong/2008/05/09/entry-1 -สรุปสื่อการสอน คือ เป็นเครื่องช่วยในการเรียนรู้ ซึ่ง ครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อช่วยการสอน และการเรียนมี ประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยครูถ่ายทอดข้อเท็จจริง ทักษะ เจตคติ ความรู้ และความซาบซึ่งไปยังผู้เรียน 
                9.สื่อประสม คืออะไร -สื่อประสมสื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อการสอนหลายๆประเภทมาประยุกต์ใช้ร่วมกันทั้งวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน ซึ่งสามารถแสดงในรูปของ ตัวอักษร เสียง รูปและภาพเครื่องไหวเข้าด้วยกันเป็นสื่อเดียวโดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และมีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ มัลติมีเดีย ยังเป็นสื่อประสมที่นับว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ของคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้มากขึ้น มีความสามารถในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น คือสามารถแสดงตัวอักษรหรือข้อความภาพ ซึ่งอาจเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวและเสียงได้พร้อมๆ กัน
  -สื่อประสมคือการนำสื่อหลายๆ ประเภทมาใช้ร่วมกัน เช่น รูปภาพ เครื่องฉายแผ่นโปร่างใส ฯลฯ อ้างอิง (รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง : 255: เทคโนโลยีการศึกษา) http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=204868ad4f684fd6 http://www.kroobannok.com/blog/1916 สรุปสื่อประสม คือ การนำสื่อหลายๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด ในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่าง ตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา 
             10.รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบไปด้วยอะไรบ้าง -สื่อหลายมิติ คือการเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่ง ได้อย่างทันทีด้วยความรวดเร็ว ซึ่งสื่อหลายมิติได้มีการพัฒนามาจาก ข้อความหลายมิติ
-รูปแบบสื่อหลายมิติ หมายถึง ความสัมพันธ์กัน ระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน จะนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่เป็นเนื้อหา หรือสื่ออื่นๆ ที่ออกแบบสำหรับผู้เรียนทุกคน โดยพยายามที่จะพัฒนารูปแบบ (Model) ให้สามารถปรับตัวและตอบสนองผู้เรียน ยังส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ
1.รูปแบบหลัก (Domain Model: DM) เป็นรูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดทีนำเสนอให้แก่ผู้เรียน โดยรูปแบบหลักเปรียบเสมือนคลังข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา ประวัติหรือแฟ้มข้อมูลของผู้เรียน และรูปแบบการนำเสนอข้อมูล ลักษณะโครงสร้างของสื่อหลายมิติแบ่งออกเป็น 3 แบบดังนี้
1.1 แบบไม่มีโครงสร้างคือ เป็นแบบที่ไม่มีโครงสร้างความรู้ มีความยืดหยุ่นสูงสุดของการจัดรวบรวม
1.2 แบบเป็นลำดับขั้นคือ เป็นการกำหนดการจัดเก็บความรู้เป็นลำดับขั้นมีโครงสร้างเป็นลำดับแบบต้นไม้ โดยให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าไปทีละขั้น
1.3 แบบเครือข่ายคือ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างจุดร่วมของฐานความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ความซับซ้อนของเครือข่าย พึ่งพาความสัมพันธ์ระหว่างจุดร่วมต่างๆ
2. รูปแบบของผู้เรียนคือ เป็นการออกแบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้และลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมของกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอเพื่อตอบสนองแบบรายบุคคล ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญของสื่อหลายมิติ 2.1 แบบปรับปรุง (Accommodators) ชอบลงมือปฏิบัติทดลองสิ่งใหม่ๆ ชอบสร้างสรรค์ ลองผิดลองถูก
2.2 แบบคิดเอกนัย (Converges) ต้องการรู้เฉพาะเรื่องที่มีประโยชน์ ชอบทำงานกับวัตถุมากกว่าบุคคล ชอบอ่าน ชอบวิจัย
2.3 แบบดูดซึม (Assimilators) ชอบการค้นคว้า อ่าน วิจัย และศึกษาอย่างเจาะลึก มีความอดทน และเพียรพยายามที่จะศึกษาหาข้อมูล
2.4 แบบอเนกนัย (Divergers) ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม ชอบเรียนรู้เพื่อสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนรวม
3. รูปแบบการปรับตัว (Adaptive Model: AM) เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปแบบของผู้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัวเป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้ในสื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้ โดยรูปแบบการปรับตัวสรุปได้ดังนี้
3.1 การนำเสนอแบบปรับตัว ซึ่งเป็นแนวคิดสำหรับการปรับเปลี่ยนในระดับเนื้อหา คือ ระบบจะวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียนเพื่อนำเสนอข้อมูลที่แต่ต่างออกไป 3.2 การสนับสนุนการนำทางแบบปรับตัว เป็นแนวคิดเพื่อช่วยสนับสนุนกันเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาแต่ละหน้าเพื่อให้ผู้เรียนสามรถติดตามเนื้อหาได้โดยไม่หลงทาง จากแนวคิดนี้มีวิธีการสนับสนุนหลายแบบดังนี้
3.2.1 การแนะโดยตรง เป็นระบบที่ง่ายที่สุด
3.2.2 การเรียงแบบปรับตัว เป็นแนวคิดในการจัดเรียงหน้าของเนื้อหาให้เป็นไปตามโมเดลของผู้เรียน
3.2.3 การซ่อน เป็นแนวคิดที่จะซ่อนหน้าที่ไม่เกี่ยวข้อง
3.2.4บรรณนิทัศน์ปรับตัว เป็นแนวคิดที่จะเสริมเนื้อหาเพิ่มเข้าไปเพื่ออธิบายภาพรวมของแต่ละหน้า อ้างอิง กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ , 2540 ณัฐกร สงคราม . (2543). อิทธิพลของแบบการคิดและโครงสร้างของโปรแกรมการเรียนการ สอนผ่านเว็บที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . วิทยานิพนธ์ ค.ม. ( โสตทัศนศึกษา) . กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร. วัฒนา นัทธี ..2547. ปัญญาประดิษฐ์ทางการศึกษาวารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง. ฉบับที่ 7 เดือนตุลาคม 2547 อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง . 2545. สุดยอดการพัฒนาการเรียนการสอน. เอ็กซเปอร์เน็ทบุ๊คส์. กรุงเทพฯ. http://www.edtechno.com/2009/index.php?option=com_content&view=article&id=48:-adaptive-hypermedia-&catid=44:webmaster&Itemid=72 สรุปรูปแบบสื่อหลายมิติ สื่อหลายมิติเป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่นๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบต่างๆ ได้ทั้ง ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว สื่อหลายมิติเป็นการขยายแนวคิดอันเป็นผลมาจากการพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสาน สื่อ อุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานเข้าด้วยกัน บรรณานุกรม วารินทร์ รัศมีพรหม,ผศ.ดร. . เทคโนโลยีทางการศึกษา. พิมพ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์ชวนพิมพ์. 2531. กิดานันท์ มลิทอง,รศ.ดร. . สื่อการสอน . พิมพ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์. 2543. วาสนา ชาวหา . เทคโลยีทางการศึกษา. พิมพ์ที่อักษรสยามการพิมพ์ . 2522 . กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ , 2540 ณัฐกร สงคราม . (2543). อิทธิพลของแบบการคิดและโครงสร้างของโปรแกรมการเรียนการ สอนผ่านเว็บที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . วิทยานิพนธ์ ค.ม. ( โสตทัศนศึกษา) . กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร. วัฒนา นัทธี ..2547. ปัญญาประดิษฐ์ทางการศึกษาวารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง. ฉบับที่ 7 เดือนตุลาคม 2547 อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง . 2545. สุดยอดการพัฒนาการเรียนการสอน. เอ็กซเปอร์เน็ทบุ๊คส์. กรุงเทพฯ. http://www.geocities.com/jatuponlimtakul/jitavitaya.htm http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7fb179ae33990cba&clk=wttpct http://jange1979.multiply.com/journal/item/4/4 http://www.bcoms.net/temp/lesson1.asp http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson 22.htm http://www.beartai.com/webboard/index.php?topic=8080.0 http://school.obec.go.th/uts_s/webpages/computer/info_edu.htm http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=204868ad4f684fd6 http://www.kroobannok.com/blog/1916 http://www.yupparaj.ac.th/CAI/index0.html http://blog.spu.ac.th/ssong/2008/05/09/entry-1 http://www.edtechno.com/2009/index.php?option=com_content&view=article&id=48:-adaptive-hypermedia-&catid=44:webmaster&Itemid=72 http://www.edtechno.com/2009/index.php?option=com_content&view=article&id=48:-adaptive-hypermedia-&catid=44:webmaster&Itemid=72

Today, there have been 1 visitors (11 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free